๘๔๕. ศีลขาดศีลทะลุ
ศีล ประดุจด่ังผ้า กาสา พัสตร์เฮย
ขาด วิ่นปกกายา ไม่ได้
ศีล ดั่งบาตรภิกขา จารรับ ข้าวแฮ
ทะลุ รั่วก้นบาตรใช้ ไม่ได้ ฉันใด ฯ
๘๔๖. ศีลด่างศีลพร้อย
ศีล ประดุจดั่งผ้า กาสา
ด่าง เปรอะสกปรกพา กลิ่นคลุ้ง
ศีล ดั่งกลดพระภา วนานั่ง ในเฮย
พร้อย ปรุยุงเข้ามุุ้ง ขาดใช้ ฉันใด ฯ
๘๔๗. เด็กด้อยโอกาส
เด็ก เกิดมายากไร้ อนาถา
ด้อย ช่องการศึกษา ใฝ่รู้
โอ ภาสฉลาดวาสนา ไม่ช่วย
กาส จะแข่งขันผู้ อื่นได้โดยไฉน ฯ
๘๔๘. ผู้บังเกิดเกล้า
ผู้ ชุบชีวิตให้ เกิดมา
บัง คับเป็นมนุสสา ชีพได้
เกิด ด้วยบิดามา ตุเรศ
เกล้า เกศประนมไหว้ กราบเท้าบูชา ฯ
๘๔๙. พ่อแม่ครูบา
พ่อ คือพระเศกสร้าง ชีวิต
แม่ ถ่ายทอดโลหิต เลือดเนื้อ
ครู ผู้สั่งสอนศิษย์ รู้วิชชาแฮ
บา ช่วยบวชเอื้อเฟื้อ เพื่อรู้ สัจธรรม ฯ
๘๕๐. ปู่ย่าตายาย
ปู่ เป็นต้นโคตรเหง้า เผ่าพันธุ์
ย่า แผ่นพื้นดินอัน ใหญ่กว้าง
ตา ด่ั่งแม่น้ำผัน มาแต่ ป่าแฮ
ยาย ดั่งสายน้ำสร้าง ชีพให้ เกิดมี ฯ
๘๕๑.พระเจ้าสูงสุด
พระ ผู้ศักดิ์สิทธิ์สร้าง สัตว์มนุษย์
เจ้า แห่งการเกิดผุด ชาตินี้
สูง ต่ำเพราะกรรมอุด หนุนส่ง มาแฮ
สุด แต่กรรมนำชี้ ชาติให้ เกิดมา ฯ
ใจ ญาติไมรู้ชี้ นับเนื้อ เชื้อไข ฯ
๘๕๓. คนรวยตายเร็ว
คน มีทรัยพ์นับล้าน รวยเกิน
รวย นักมักเพลิดเพลิน โลกนี้
ตาย ทับอยู่บนเงิน ทองที่ ถมแฮ
เร็ว มากไม่อยากลี้ ลับทิ้ง ศฤงคาร ฯ
๘๕๔. คนจนตายช้า
คน อดอยากยากไร้ อนาถา
จน นักถือกะลา ค่ำเช้า
ตาย เม่ื่อแก่เต๋าชรา ลำบาก
ช้า มากอยากหนีเศร้า โศกพ้น อนาถา ฯ
๘๕๕. คนในอยากออก
คน ที่เคยอยู่รั้ว วัดวัง
ใน ขอบเขตคุมขัง คุกล้อม
อยาก อยู่ป่าไม้บัง ร่มรื่้น
ออก สู่อิสระพร้อม สรรพด้วย เสรี ฯ
๘๕๖. คนนอกอยากเข้า
คน ไม่เคยอยู่รั้ว วัดวัง
นอก เขตกำแพงบัง รอบไว้
อยาก อยู่วัดวาหวัง ว่าสุข สงบแฮ
เข้า อยู่ไม่นานให้ เร่าร้อน นอนไฟ ฯ
๘๕๗.นอนสูงนอนคว่ำ
นอน อยู่บนคบไม้ กลางไพร
สูง กว่าฝูงสัตว์ใน ป่ากว้าง
นอน ดูสัตว์เดินไป บนแผ่น ดินแฮ
คว่ำ พักตร์แลดูข้าง ล่างล้วน ดิ้นรน ฯ
๘๕๘. นอนต่ำนอนหงาย
นอน อยู่บนภาคพื้น พสุธา
ต่ำ กว่าปวงประชา ไพร่ฟ้า
นอน ดูมนุษย์นานา ในโลก
หงาย พักตร์แลดูหน้า ท้ัวหน้า มีจน ฯ
๘๕๙. คนตายเหมือนหมา
คน ใหญ่คนเล็กน้อย จนมี
ตาย ลับดับชีวี ล่วงแล้ว
เหมือน กันหมดเป็นผี เหม็นเน่า
หมา กับคนไม่แคล้ว เน่าแล้ว ฝังเผา ฯ
๘๖๐. ตีนโรงตีนศาล
ตีน กะไดพาดขึ้น เรือนชาน
โรง แห่งตุลาการ นั่งโก้
ตีน ท่านใหญ่ต้องกราน ก้มกราบ
ศาล ท่านเมตตาโอ้ อวดรู้ จักกัน ฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น